คั่วเนื้อ – คั่วปลา อาหารพื้นถิ่นไทคอนสาร
ประเพณีบุญกระธูป
ชื่อประเพณี บุญกระธูป ที่ตั้ง อำเภอหนองบัวแดง รูปแบบศิลปกรรม ประเพณีท้องถิ่น อายุ ไม่ปรากฏแน่ชัด สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลเบื้องต้น ประเพณีบุญกระธูปเป็นประเพณีที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิอย่างแท้จริง โดยเฉพาะในเขตอำเภอหนองบัวแดง ซึ่งมีความเชื่อ ความศรัทธา พิธีกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมรวมไปถึงการดำเนินชีวิตสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก การแห่กระธูปเป็นคติความเชื่อโดยมองว่าเป็นการสร้างความร่มเย็นอันยิ่งใหญ่ใต้ร่มพระพุทธศาสนา โดยต้นกระธูปเป็นสัญลักษณ์แทนต้นหว้า ต้นไม้ประจำชมพูทวีป อันมีบันทึกไว้ในหนังสือฎีกาพระมาลัยสูตรว่าลักษณะของต้นกระธูปมีความยาวประมาณ ๕๐ โยชน์ มีกิ่งใหญ่ ๔ กิ่ง แผ่ออกไป ๔ ทิศทาง กว้างเป็นมณฑลทั้งได้ ๑๐๐ โยชน์ อันสื่อความหมายถึง พระพุทธศาสนานี้เป็นที่ร่มเย็นแก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย เปรียบเอาต้นกระธูปนี้จุดแล้วย่อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งขจรขจายไปยังทิศต่าง ๆ ทำให้เกิดความสุข เป็นคุณค่าทางจิตใจ และเพื่อบูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวาระที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ภายหลังจากโปรดพุทธมารดา ประเพณีแห่บุญกระธูปก่อเกิดขึ้นเมื่อใดไม่แน่ชัด ตามประวัติพบว่า ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ ชาวบ้าน หมู่บ้านราษฎรดำเนิน ตำบลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ได้ฟื้นฟูการแห่กระธูปถวายวัดในวันออกพรรษา ต่อมาปี พุทธศักราช...
พระธาตุแก้งกอย
ชื่อแหล่งโบราณคดี พระธาตุแก้งกอย ที่ตั้ง บ้านโนนคูณ ตำบลโนนคูณ อำเภอคอนสาร รูปแบบศิลปกรรม ศิลปะล้านช้าง อายุ พุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลข้างต้น ธาตุแก้งกอย ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุแก้งกอย ตำบลโนนคูณ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เป็นโบราณสถานประเภทธาตุหรือเจดีย์ธาตุบัวเหลี่ยมย่อมุม ๓ ชั้นลดหลั่นกันไป ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะล้านช้าง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ ขนาดสูงประมาณ ๙.๕๐ เมตร กว้าง ๕.๔๐ เมตร ก่อด้วยอิฐสอปูน มีการขุดแต่ง – บูรณะและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์บริเวณธาตุแก้งกอยโดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๙ นครรราชสีมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๕ สามารถวิเคราะห์ รูปแบบทางศิลปะเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนฐาน ประกอบไปด้วยชุดฐานเขียงทรงเตี้ย ๓ ชุด ต่อด้วยท้องไม้ เหนือขึ้นไปเป็นฐานบัวรองรับปากระฆังคั่นด้วยลวดบัวปลายตวัดงอนขึ้น ส่วนองค์ระฆัง เหนือฐานบัวรองรับปากระฆัง จะเป็นลวดบัวรองรับองค์ระฆังเหลี่ยมหรือบัวทรงเหลี่ยม ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะล้านช้าง...
ธาตุเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง
ชื่อแหล่งโบราณคดี ธาตุเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ที่ตั้ง หมู่ ๑ วัดเจดีย์ ตำบลคอนสาร อำเภอคอนสาร รูปแบบศิลปกรรม อยุธยาและกรุงรัตนโกสิทร์ตอนต้น อายุ ไม่ปรากฏแน่ชัด สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลพื้นฐาน เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นพร้อมกันกับพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือ หลวงพ่อพระประธาน ศิลปะสมัยสุโขทัยตอนต้นแต่รูปแบบทางศิลปะของเจดีย์ได้รับอิทธิพลทางศิลปะแบบสิบสองปันนา ซึ่งถือเป็นหลักฐานที่ยังไม่มีความ ชัดเจน อย่างไรก็ตามในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ปีพุทธศักราช ๒๓๓๗ สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า – จุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้หลวงวิชิตสงคราม (หมื่นอร่ามกำแหง) ตามด้วยข้าบริวารมาทำสีผึ้ง ดินประสิว งาช้าง ที่ทุ่งพระแลและบริเวณศาลากลางบ้าน ณ ปัจจุบัน ช่วงเวลาเดียวกับหมื่นอร่ามกำแหงได้ค้นพบวัดร้าง พระพุทธรูปใหญ่ ต้นศรีมหาโพธิ์ และเจดีย์เก่าแก่ จึงได้มีการบูรณะพระพุทธรูปพร้อมกับเจดีย์ ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า รูปแบบศิลปะของเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ปัจจุบันเป็น เจดีย์ที่มีรูปแบบศิลปะแบบกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เนื่องจากมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับเจดีย์ในบริเวณภาคกลาง ซึ่งมีลักษณะเป็น เจดีย์ทรงเครื่อง การบูรณะเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองสันนิษฐานว่าทางช่างได้มีการรับอิทธิพลการสร้างเจดีย์แบบอยุธยาผนวกกับลักษณะเฉพาะของศิลปะในแบบของกรุงรัตนโกสินทร์มาบูรณะใหม่โดยสามารถ วิเคราะห์ออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่...
พระแท่นบังลังก์
ชื่องานศิลปกรรม พระแท่นบัลลังก์ ที่ตั้ง หมู่ ๓ ตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบศิลปกรรม พระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง อายุ พุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔ สถานะกาารขึ้นทะเบียน – ข้อมูลเบื้องต้น พระแท่นบัลลังก์ เป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบล้านช้าง มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔ ประวัติศาสตร์ที่มาขององค์พระแท่นบัลลังก์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ปรากฏเพียงคำบอกเล่าที่สืบทอดกันต่อมาแบบมุขปาฐะเท่านั้น ตามประวัติศาสตร์บอกเล่ากล่าวว่า มีการค้นพบพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัยประดิษฐานไว้ในบริเวณใจกลางป่า ในปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวคือบริเวณลานพระแท่นนั่นเอง โดยพบพระพุทธรูปวางอยู่ใกล้กับฐานรูปเคารพโบราณ ล้อมรอบด้วยใบเสมาหินหรายสีชมพูขนาดเล็ก กลุ่มชาสบ้านที่ไปพบได้นำเอาองค์พระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานไว้บนฐานรูปเคารพ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเป็นแท่นและนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระแท่นบัลลังก์ และบริเวณแห่งนี้ได้ถูกขนานนามว่าเป็น ลานพระแท่นบัลลังก์ จนถึงปัจจุบัน พระแท่นบัลลังก์ได้กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ ชาวบ้านที่ได้รับเมตตาบุญญาอภินิหารในประการต่าง ๆ และชาวบ้านที่ต้องการที่พึ่งพาทางจิตใจ ที่เคารพสักการะและคุมภัยอันตราย อันทำให้เกิดความสงบสุข จึงได้เริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับบริเวณลานพระแท่นบัลลังก์และได้ทำการหักร้างถากถางพง พัฒนาผืนป่ารกจนกลายมาเป็ฯหมู่บ้าน เรียกว่า บ้านแท่น พร้อมกับการสร้างบัลลังก์ขึ้นเพื่อประดิษฐานองค์พระแท่นบัลลังก์ในปี พ.ศ. ๒๔๐๑...
เฮือนคำมุ
ที่อยู่ 69 31-32 ถนน ชัยประสิทธิ์ ตำบล ในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ ชัยภูมิ 36000 โทรศัพท์ 081 725 5215 วันและเวลาทำการ เปิดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:00 น. – 19:00 น. ค่าเข้าชม ฟรี ปีที่ก่อตั้ง – จัดการโดย ดร.คมกฤช ฤทธิ์ขจร เนื้อหา พิพิธภัณฑ์ ผ้าโบราณชัยภูมิ KOMGRISH เฮือนคำมุ ก่อตั้งโดย ดร.คมกฤช ฤทธิ์ขจร ศิลปินแห่งชาติด้านเรขศิลป์ จังหวัดชัยภูมิ นักอนุรักษ์ผ้าไทยที่มีความชื่นชอบด้านผ้าไทย ต้นแบบของผ้าขอไหมโบราณที่มีอายุมากกว่า200ปี ของลูกหลาน เจ้าพ่อพญาแลโดยตรง ลวดลายที่งดงาม อาทิ ลายขอ ลายหมี่คั่นขอนารี ลายฟองน้ำ ลายดอกหมาก ลายหางกระลอก เป็นต้น สถานะ เปิดดำเนินการ การบริการอื่นๆ คอฟฟี่เฮาส์/สถานที่จัดประชุมสัมมนา
ผ้าไหมมัดหมี่ “ลายหมี่คั่นขอนารี”
ผ้าไหมลายหมี่คั่นขอนารี เป็นลายผ้ามัดหมี่เอกลักษณ์ ของจังหวัดชัยภูมิ เกิดจากการนำหมี่คั่นลายโบราณ มารวมกับ ลายมัดหมี่ขอนารี ซึ่งสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้มีพระราชดำริ ให้อนุรักษ์ไว้ เกิดเป็นลายผ้าเอกลักษณ์ของจังหวัดชัยภูมิขึ้น . การทอผ้าและผลิตผ้าไหมของคนชัยภูมินั้น จากประวัติที่ได้รับการบอกเล่าและบันทึกไว้บอกว่า ช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (จ.ศ. 1174) พ.ศ.2360 กว่า 200 ปี ชาวชัยภูมิได้ผลิตผ้าไหมอย่างดีเป็นที่รู้จักตั้งแต่สมัยของ “พระยาภักดีชุมพล (แล)” เจ้าเมืองชัยภูมิ ที่ชาวชัยภูมิให้การเคารพเป็นอย่างสูง เป็นชาวเมือง เวียงจันทร์ ได้อพยพย้ายถิ่นฐาน มาตั้งเมืองที่เมืองชัยภูมิ ในสมัยนั้นต้องมีการส่งเครื่องบรรณาการไปถวายที่กรุงเทพฯ และเวียงจันทร์ ประเทศลาว และหนึ่งในเครื่องบรรณาการที่สำคัญ คือ ผ้าไหม ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้ชาวบ้านมีภูมิปัญญา เรื่องของการทอผ้าไหมสะสมมาเป็นเวลาช้านาน และมีการพัฒนาเรื่องผ้าจนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในปัจจุบัน . ท่านท้าวบุญมี ภรรยาของพระยาภักดีชุมพล (แล) เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญ มีความชำนาญในการเลี้ยงไหม สาวไหม และทอผ้าไหม ได้สอนให้สตรีชาวชัยภูมิ รู้จักการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้า ไม่ว่าจะเป็นผ้ายกขิด ผ้าไหมมัดหมี่ การทำซิ่นคั่น...
พระตำหนักเขียว
ที่อยู่ : จวนผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ 36000 โทรศัพท์ : 044 – 822316 , 044 – 811574 วันและเวลาทำการ : เปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 8.30 – 16.30 น. กรุณาทำหนังสือแจ้งล่วงหน้า ค่าเข้าชม : ไม่เก็บค่าเข้าชม ปีที่ก่อตั้ง : 2549 จัดการโดย : หน่วยงานราชการ เนื้อหา : ผ้า / สิ่งทอ,งานอนุรักษ์สถาปัตยกรรม,บ้านประวัติศาสตร์ สถานะ : เปิดดำเนินการ
ประเพณีแห่นาคโหด บทพิสูจน์แรงศรัทธาก่อนเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์
ชื่อประเพณี ประเพณีแห่นาคโหด แหล่งศึกษาข้อมูล บ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบศิลปกรรม – อายุ – สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลเบื้องต้น ประเพณีแห่นาคโหด บ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ถูกจัดขั้นในช่วงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนหกถึงแรม ๑๕ ค่ำเดือนหกของทุกปี ลักษณะงานเป็นการจัดงานอุปสมบทหมู่ ซึ่งเป็นเด็กผู้ชายอายุครบ ๒๐ ปีที่ประสงค์บวชทดแทนพระคุณบิดามารดา การจัดงานแห่นาคของที่นี่มีความเชื่อที่ถูกถ่ายทอดกันมานานกว่าร้อยปี ซึ่งเชื่อกันว่า “แห่นาคโหด” เป็นเสมือนบททดสอบความมุ่งมั่น ตั้งใจและความอดทนของผู้บวชที่มีต่อบิดา มารดา ลำดับพิธีการ เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงเช้าจะเป็นการปลงผมนาค ขอขมาบิดามารดาไปจนถึงญาติผู้ใหญ่ ช่วงบ่ายนาคจะเดินทางไปกราบศาลปู่ตา (ศาลประจำหมู่บ้าน) ที่วัด ตาแขก (วัดใน) ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน จากนั้นจะเป็นการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญนาค หลังจากเสร็จพิธีบายศรี จะเป็นการตั้งขบวนวัฒนธรรม โดยจุดตั้งขบวน คือวัดตาแขก แห่รอบหมู่บ้านโนนเสลา – โนนทัน นำนาคขึ้นแห่บนแคร่ ขบวนนาคจะใช้คนหนุ่มที่ยังไม่ได้บวชมาช่วยกันหามแคร่ไม้ไผ่ ซึ่งแคร่จะมีการจัดเตรียมเชือกเพื่อให้นาคยึดจับไว้ไม่ให้ตกได้ง่าย การแห่นาคจะเดินขบวนแห่ไปรอบ ๆ...