ชื่อแหล่งโบราณคดี | ธาตุพีพวย |
ที่ตั้ง | บ้านโนนทัน หมู่ที่ 11 ตำบลสระโพนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ |
รูปแบบศิลปกรรม | ไท – ลาว |
อายุ | พุทธศตวรรษที่ 24 – ปลายพุทธศตวรรษที่ 25 |
สถานะการขึ้นทะเบียน | |
ข้อมูล เบื้องต้น | ตั้งอยู่ที่บ้านโนนทัน หมู่ 13 ตำบลสระโพนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ก่อสร้างด้วยอิฐ ขนาตใหญ่ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนฐานล่างสุดเป็นฐานเขียงรูปสี่เหสี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านมีแนวอิฐก่อเป็นแท่นอยู่กึ่งกลางต้าน ถัดขึ้นไปเป็นชุตฐานเขียง 2 ชั้น ผังรูปสีเทลี่ยมจัตุรัส มีซุ้มพระทางด้าน ทิศเหนือเพียงด้านเดียว ต่อขึ้นไปด้วยฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ส่วนองค์ระฆังมีรูปทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ สิบสอง ส่วนยอดต่อจากองค์ระฆังขึ้นมาเป็นแถวกลีบบัวด้านละสามกลีบ ที่มุมแต่ละมุมมีกลีบบัว แคบ ๆ แทรกอยู่ทั้ง 4 มุม ถัดขึ้นไปทำคล้ายดอกบัวตูมขึ้นไปจนถึงยอดสุดซึ่งแตกหักหายไปแล้ว พื้นที่บริเวณด้านหน้าด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระะธาตุพีพวย ยังพบร่องรอยของอาคารอุโบสถเติมที่ก่อสร้างด้วยอิฐอีก 1 หลัง จากการศึกษาหลักฐานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม กำหนดอายุอยู่ในสมัยวัฒนธรรมไท – ลาว พุทธศตวรรษที่ 24 – ปลายพุทธศตวรรษที่ 25 |
แหล่งอ้างอิง | กรมศิลปากร.ปกิณกศิลปวัฒนธรรม เล่ม 25 จังหวัดชัยภูมิ.กรุงเทพฯ : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด.หน้า 203. |