พระแท่นบังลังก์

ชื่องานศิลปกรรมพระแท่นบัลลังก์
ที่ตั้งหมู่ ๓ ตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ
รูปแบบศิลปกรรมพระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง
อายุพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔
สถานะกาารขึ้นทะเบียน
ข้อมูลเบื้องต้นพระแท่นบัลลังก์ เป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบล้านช้าง มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔ ประวัติศาสตร์ที่มาขององค์พระแท่นบัลลังก์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ปรากฏเพียงคำบอกเล่าที่สืบทอดกันต่อมาแบบมุขปาฐะเท่านั้น

ตามประวัติศาสตร์บอกเล่ากล่าวว่า มีการค้นพบพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัยประดิษฐานไว้ในบริเวณใจกลางป่า ในปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวคือบริเวณลานพระแท่นนั่นเอง โดยพบพระพุทธรูปวางอยู่ใกล้กับฐานรูปเคารพโบราณ ล้อมรอบด้วยใบเสมาหินหรายสีชมพูขนาดเล็ก กลุ่มชาสบ้านที่ไปพบได้นำเอาองค์พระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานไว้บนฐานรูปเคารพ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเป็นแท่นและนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระแท่นบัลลังก์ และบริเวณแห่งนี้ได้ถูกขนานนามว่าเป็น ลานพระแท่นบัลลังก์ จนถึงปัจจุบัน

พระแท่นบัลลังก์ได้กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ ชาวบ้านที่ได้รับเมตตาบุญญาอภินิหารในประการต่าง ๆ และชาวบ้านที่ต้องการที่พึ่งพาทางจิตใจ ที่เคารพสักการะและคุมภัยอันตราย อันทำให้เกิดความสงบสุข จึงได้เริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับบริเวณลานพระแท่นบัลลังก์และได้ทำการหักร้างถากถางพง พัฒนาผืนป่ารกจนกลายมาเป็ฯหมู่บ้าน เรียกว่า บ้านแท่น พร้อมกับการสร้างบัลลังก์ขึ้นเพื่อประดิษฐานองค์พระแท่นบัลลังก์ในปี พ.ศ. ๒๔๐๑
แหล่งอ้างอิงตชาชาต ฝอยวารี, เดชา ศิริภาษณ์ และ ปัญญา นาแพงหมื่น. 2560.  พระแท่นบัลลังก์ : ความเชื่อและ     ความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของชาวอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ.  วารสารศิลปกรรมศาสตร์, 9(2), 1–21.

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Scroll to top