Open post

ตีคลีไฟ

ชื่อการละเล่นพื้นเมือง ตีคลีไฟ แหล่งศึกษาข้อมูล บ้านหนองเขื่อง ตำบลกุดตุ้ม อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบศิลปกรรม การละเล่นพื้นบ้าน อายุ – สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลเบื้องต้น การละเล่น ตีคลีไฟ เป็นการละเล่นที่ถูกหยิบยกขึ้นมาสร้างเป็นกีฬาพื้นบ้านอันเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดชัยภูมิ โดยเฉพาะชาวหนองเขื่อง ตำบลกุดตุ้ม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิถูกจัดขึ้นหลังช่วงออกพรรษาหรือช่วงฤดูหนาวของทุกปีเนื่องจากช่วงเวลานั้นถือเป็นช่วงที่ชาวบ้านต่างให้ความสนใจกันมากเพราะการเล่นตีคลีไฟเป็นการละเล่นที่ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ สร้างความสนุกสนานและความภาคภูมิใจให้แก่คนในชุมชน ประวัติการละเล่นตีคลีไฟ ถือกำเนิดขึ้นมายาวนานเป็นระยะเวลากว่า ๑๐๐ ปี จากคำบอกเล่าในอดีต ก่อเกิดขึ้นโดยมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของชาวบ้าน คือ การเป็นเกษตรกร ยุคสมัยนั้นชาวบ้านต้องไปทำไร่ทำนาหาเลี้ยงครอบครัว หลังกลับมาจากการทำงานชาวบ้านจะพากันมารออาบน้ำตามห้วย คลอง หนอง บึง แถวหมู่บ้านและในช่วงอากาศหนาวชาวบ้านต่างหากิจกรรมคลายหนาวระหว่างรออาบน้ำ จึงมีการนำเหง้าไม้ไผ่ตามหมู่บ้านมาตีลูกนุ่นที่มีน้ำหนักเบา ใครตีไปได้ไกลกว่าถือว่าคนนั้นชนะ การละเล่นดังกล่าวจึงถูกเรียกกันว่า “การตีโหลน” ต่อมาชาวบ้านมีการก่อกองไฟขึ้นเพื่อใช้ผิงและชาวบ้านยังคงมีการเล่นตีคลีตามปกติ แต่ทว่ามีการตีลูกนุ่นเข้าไปในกองไฟ ส่งผลให้ลูกนุ่นติดไฟ ชาวบ้านจึงนำออกมาตีเกิดเป็นประกายไฟอย่างสวยงามภายหลังการละเล่นตีคลีไฟจึงถูกพัฒนาจากตีคลีโหลนเปลี่ยนมานิยมเล่นตีคลีไฟ จนกระทั่งปี พ.ศ.๒๕๔๘ ถูกจัดตั้งให้เป็นการแข่งขันตีคลีไฟและสร้างเป็นประเพณีของคนท้องถิ่นเนื่องจากการละเล่นดังกล่าวเริ่มสูญหาย หน่วยงานต่าง ๆ และคนในท้องถิ่นได้เข้ามาช่วยสืบสานประเพณีตีคลีไฟ พัฒนาขึ้นมาเป็นงานประจำปีอย่างต่อเนื่องเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้และเกิดความภาคภูมิใจในประเพณีท้องถิ่น อุปกรณ์การเล่น๑. เหง้าไม้ไผ่ เหง้าไม้ไผ่ (ลักษณะแบบตะขอ) ...

Open post

สะบ้า

ชื่อการละเล่นพื้นเมือง สะบ้า แหล่งศึกษาข้อมูล ที่ว่าอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิโรงเรียนบ้านนาเกาะ  ต.ทุ่งนาเลา  อ.คอนสาร  จ.ชัยภูมินายบุญเกิด   แพงจันทร์ (ผู้รวบรวมกติกาการละเล่นสะบ้า) รูปแบบศิลปกรรม การละเล่นพื้นบ้าน อายุ ไม่ปรากฏศักราชแน่ชัด – แต่หากมีการอธิบายว่าสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยปู่ ย่า ตา ยาย ในช่วงการก่อตั้งเมืองคอนสาร สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลเบื้องต้น สะบ้า   เป็นพืชไม้เลื้อยขึ้นตามป่าดงดิบ ผลสามารถนำมาใช้สุมไฟบดเข้าเครื่องยา แก้ตัวร้อน เป็นไข้ มะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง เมล็ดแก่สามารถนำมาใช้เป็นอุปกรณ์สำหรับการละเล่นได้แก่ สะบ้า มะนิม หมากงิม สะบ้ามอญ สะบ้าช้าง มะบ้า เป็นต้น การละเล่นสะบ้าไทคอนสารจากคำบอกเล่าถึงการละเล่นสะบ้าของไทคอนสารนั้นไม่มีระยะเวลาปรากฏที่ชัดเจนถึงจุดเริ่มต้น เพียงแต่มีการกล่าวว่าปู่ ย่า ตา ยายรุ่นบรรพชนเล่นมาสมัยเด็ก จึงสันนิธานได้ว่าการเล่นสะบ้ามีมาตั้งแต่แรกตั้งเมืองคอนสาร อาจสรุปได้ว่าการละเล่นสะบ้าอาจเป็นธรรมเนียมที่ติดตัวจากถิ่นเดิมของบรรพบุรุษที่อพยพเข้ามา ในยุคสมัยต่อมา การละเล่นสะบ้าไทคอนสารเริ่มถูกละเลย โดยเป็นผลมาจากยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ผู้คนต่างให้ความสำคัญกับการละเล่นสะบ้าน้อยลง   จนกระทั่ง ปี ๒๕๓๘ ชาวคอนสารร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์หมื่นอร่ามกำแหง ในงานเปิดอนุสาวรีย์ คณะกรรมการจัดงานมองเห็นความสำคัญของสะบ้าว่าเป็นการละเล่นที่พบเห็นเป็นส่วนน้อยและถือเป็นเอกลักษณ์ของคนคอนสาร จึงทำการรื้อฟื้นการละเล่นสะบ้าอีกครั้งโดยนำกลับเข้ามาเป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของงานบุญเดือน...

Open post

พระธาตุพีพวย

ชื่อแหล่งโบราณคดี ธาตุพีพวย ที่ตั้ง บ้านโนนทัน หมู่ที่ 11 ตำบลสระโพนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบศิลปกรรม ไท – ลาว อายุ พุทธศตวรรษที่ 24 – ปลายพุทธศตวรรษที่ 25 สถานะการขึ้นทะเบียน ข้อมูลเบื้องต้น ตั้งอยู่ที่บ้านโนนทัน หมู่ 13 ตำบลสระโพนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ก่อสร้างด้วยอิฐ ขนาตใหญ่ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนฐานล่างสุดเป็นฐานเขียงรูปสี่เหสี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านมีแนวอิฐก่อเป็นแท่นอยู่กึ่งกลางต้าน ถัดขึ้นไปเป็นชุตฐานเขียง 2 ชั้น ผังรูปสีเทลี่ยมจัตุรัส มีซุ้มพระทางด้าน ทิศเหนือเพียงด้านเดียว ต่อขึ้นไปด้วยฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ส่วนองค์ระฆังมีรูปทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ สิบสอง ส่วนยอดต่อจากองค์ระฆังขึ้นมาเป็นแถวกลีบบัวด้านละสามกลีบ ที่มุมแต่ละมุมมีกลีบบัว แคบ ๆ แทรกอยู่ทั้ง 4 มุม ถัดขึ้นไปทำคล้ายดอกบัวตูมขึ้นไปจนถึงยอดสุดซึ่งแตกหักหายไปแล้ว พื้นที่บริเวณด้านหน้าด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระะธาตุพีพวย ยังพบร่องรอยของอาคารอุโบสถเติมที่ก่อสร้างด้วยอิฐอีก 1 หลัง จากการศึกษาหลักฐานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม กำหนดอายุอยู่ในสมัยวัฒนธรรมไท –...

Open post

ชุมชนโบราณบ้านคอนสวรรค์

ชื่อแหล่งโบราณคดี ชุมชนโบราณบ้านคอนสวรรค์ ที่ตั้ง หมู่ที่ ๘ ๙ และ ๑๑ ตำบลคอนสวรรค์ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบศิลปกรรม เมืองโบราณ อายุ พุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๖ สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลเบื้องต้น ชุมชนโบราณบ้านคอนสวรรค์หรือ “นครการหลง” หมู่ที่ ๘ ๙ และ ๑๑ ตั้งอยู่บนเนินดิน มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ ๒ – ๓ ชั้น มีแผนผังรูปวงรีหรือค่อนข้างกลม ขนาดประมาณ ๕๐๐ x ๘๐๐ เมตรตามแบบเมืองสมัย  ทวารวดีและตั้งอยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำชีโดยมีลำน้ำสาขาเชื่อมถึงกัน จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่ามีการอาศัยมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตำแหน่งที่ตั้งของชุมชนบ้านคอนสวรรค์ไม่เพียงแต่อยู่ใกล้นำชี ยังตั้งอยู่ไม่ไกลจากช่องเขาสามหมอ ช่องเขาที่สามารถติดต่อระหว่างเมืองต่างๆ ได้ แม่น้ำชีก็สามารถเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมทางตะวันตกลงเขาพังเหยสู่พื้นที่ลุ่มแม่น้ำป่าสักได้ ทางตะวันออกก็สามารถเชื่อมต่อไปถึงเมืองฟ้าแดดสงยางและเมืองโบราณอื่น ๆ ประวัติการก่อตั้งเมืองคอนสวรรค์หรือนครกาหลง เดิมนั้นเป็นเมืองเก่าโบราณ มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีพืชพันธุ์ธัญญาหาร ผลาหาร ปักษาหาร ผลไม้นานาชนิด...

Open post

กู่แดง

ชื่อแหล่งโบราณคดี กู่แดง ที่ตั้ง บ้านกุดยาง หมู่ 3ตำบลตลาดแร้ง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบศิลปะกรรม ศิลปขอมโบราณแบบบาปวน อายุ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗ สถานะการขึ้นทะเบียน ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ ข้อมูลเบื้องต้น กู่แดง หรือ กู่แดงบ้านกุดยาง ตั้งอยู่ที่บ้านกุดยาง หมู่ ๓ ตำบลตลาดแร้ง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นตามรูปแบบสถาปัตยกรรมขอมโบราณ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เป็นรูปแบบศิลปะในสมัยบาปวนต่อเนื่อไปจนถึงรูปแบบศิลปะสมัยนครวัด กู่แดง มีแผนผังเป็นปราสาทหลังเดียว หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด ๑๓ x ๑๓ เมตร สูงจากพื้นดินประมาณ ๒.๓๐ เมตร ฐานก่อสร้างด้วยศิลาแลงเป็นบันไดทางขึ้น ๓ ด้าน ยกเว้นด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจากส่วนฐานขึ้นไปยังชั้นเรือนธาตุ โดยฐานส่วนล่างมีการก่อสร้างด้วยหินทรายสีแดง (ชมพู)...

Open post

ภาพเขียนสีถ้ำขาม

ชื่อแหล่งโบราณคดี ภาพเขียนสีถ้ำขาม ที่ตั้ง บ้านวังน้ำอุ่น หมู่ ๙ ตำบลทุ่มนาเลา อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบศิลปกรรม ภาพเขียนสี อายุ ๓,๐๐๐ ปี สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลเบื้องต้น แหล่งโบราณคดีภาพเขียนสีถ้ำขาม พบอยู่บริเวณหุบเขากับถ้ำด้านทิศใต้ของภูผักหนาม ช่วงที่พบภาพเขียนสีเป็นเพิงผา มีพื้นที่ในการเขียนภาพกว้างประมาณ ๒ เมตร ยาว ๔ เมตร สูงจากพิ้นดินตั้งแต่ ๑ – ๓ เมตร ภาพเขียนสีที่พบเขียนด้วยสีแดง ปนน้ำตาลบนพื้นหินสีเทาเข้มถึงสีดำ แสดงภาพเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับคนและสัตว์รวมทั้งภาพลักษณ์ต่าง ๆ ภาพเขียนสีที่ปรากฏอยู่นั้น ภาพแรกอยู่ทางด้านซ้ายมือ เป็นภาพมือ แต่เห็นนิ้วเพียง ๔ นิ้ว ภาพถัดมาติดกับเพิงผาริมนอกเป็นภาพหมูป่า ถัดมาด้านขวา เป็นภาพกลุ่มใหญ่มีองค์ประกอบร่วมกันคือ เขียนภาพเป็นเส้นโค้งโดยที่ปลายเส้นโค้งด้านซ้ายมีรูปวงกลม ต่อจากรูปวงกลมเขียนเป็นเส้นริ้ว ๓ เส้น ต่อลงไปเป็นภาพมือเด็กข้างซ้ายและต่ำจากภาพมือลงไปเป็นภาพวงกลมอีก ๓ วง บนเส้นโค้งมีภาพสุนัข ๔ ตัว ยืนหันหน้าไปทางด้านซ้าย...

Open post

ชุมชนโบราณเมืองหามหอก

ชื่อแหล่งโบราณคดี ชุมชนโบราณเมืองหามหอก ที่ตั้ง บ้านไร่หมู่ ๖ ตำบลลุ่มลำชี อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบศิลปกรรม เมืองโบราณ อายุ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ สมัยทวารวดี ต่อเนื่องถึงสมัยวัฒนธรรมขอมโบราณ พุทธศตววรษที่ ๑๖ – ๑๘ และสมัยวัฒนธรรมไ ท – ลาว พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๓ สถานะการขึ้นทะเบียน ๒ สิงหาคม ๒๔๗๙ ข้อมูลเบื้องต้น ชุมชนโบราณเมืองหามหอก เป็นเนินดินรูปร่างค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑ กิโลเมตร สูงจากระดับพื้นที่โดยรอบประมาณ ๓ เมตร ด้านนอกของเนินดินมีคูน้ำ – คันดินล้อมรอบหนึ่งชั้น เป็นแนวคูน้ำ – คันดินชั้นใน พื้นที่ถัดออกไปจากคูน้ำ – คันดินชั้นใน เป็นพื้นที่ราบลุ่มสภาพค่อนข้างโล่ง และมีคูน้ำ – คันดินล้อมรอบอีกหนึ่งชั้น...

Open post

ใบเสมาบ้านกุดโง้ง

ชื่อหลักฐานทางศิลปกรรม เสมาหินบ้านกุดโง้ง สถานที่พบ บ้านกุดโง้ง ตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ แหล่งศึกษาข้อมูล อาคารจัดแสดงภายในวัดศรีปทุมคงคาราม รูปแบบศิลปกรรม สมัยทวารวดี อายุ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๕ สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลเบื้องต้น ใบเสมาสมัยทวารวดี“ใบเสมา” ความหมายนี้ใช้เรียกแทนแผ่นหิน – แท่งหิน หรือ หลักหิน เป็นศิลปกรรมสมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๖ มักพบตั้งตั้งอยู่ที่เพิงหิน หรือเนินดินโบราณสถานในเขตเมืองโบราณสมัย ทวารวดี มีทั้งการตั้งปักในลักษณะเป็นเอกเทศ หรือล้อมรอบเพื่อแสดงเป็นหลักเขตหรือเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสามารถนำไปเทียบเคียงกับใบเสมาที่ล้อมรอบอุโบสถในสมัยหลังได้ในระดับหนึ่ง รูปลักษณะของใบเสมาสมัยทวารวดีมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบแผ่นหินธรรมชาติ แบบสลักแผ่นหินเรียบรูปทรงต่าง ๆ รวมถึงแบบแท่งหินทรงสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม นอกจากนี้บางแผ่นยังมีการสลักลวดลายมงคลต่าง ๆ เช่นลายกลีบบัว ธรรมจักร สถูปตรงแกนกลางของใบตลอดจนการสลักเป็นภาพเล่าเรื่องชาดกและพุทธประวัติ ในส่วนของกลุ่มใบเสมาบ้านกุดโง้ง ตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ มีการพบใบเสมาบริเวณเนินดิน ที่ตั้งหมู่บ้านและพื้นที่โดยรอบ มีการพบมากกว่า...

Open post

ปรางค์กู่

ชื่อแหล่งโบราณคดี ปรางค์กู่ ที่ตั้ง บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบศิลปะกรรม ศิลปะขอมแบบบายน อายุ พุทธศตวรรษที่ ๑๘ สถานะการขึ้นทะเบียน ๒ สิงหาคม ๒๔๗๙ ข้อมูลเบื้องต้น ปรางค์กู่ บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เป็นโบราณสถานที่ถูกสร้างขึ้นตามรูปแบบสถาปัตยกรรมขอมโบราณ แบบบายนในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ตรงกับกษัตริย์ขอมคือพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งอาณาจักรขอม (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๖๑) ซึ่งมีพระราชดำริในการสร้างอโรคยศาลหรือศาสนสถานประจำสถานพยาบาลอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับปรางค์กู่บริเวณอื่นอีกจำนวน ๑๐๒ แห่ง ทั่วราชอาณาจักร โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชน ปรางค์กู่ ถูกสร้างขึ้นภายใต้คติความเชื่อของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน คือ พระโพธิสัตว์ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา พระพุทธเจ้าแห่งการแพทย์ นอกจากนี้ยังมีการค้นพบศิลาจารึกประจำอโรคยศาล จารึกข้อความทั้ง ๔ ด้าน โดยมีการจารึกด้วยอักษรขอม เป็นภาษาสันสกฤต รายละเอียดเป็นการกล่าวถึงการแสดงความนอบน้อมแก่พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ไภษัชยคุรุไวฑูรประภา รวมทั้งกล่าวถึงเจ้าหน้าที่ประจำสถานพยาบาลในแผนกต่าง ๆ จากการสำรวจพังพบว่าปรางค์กู่ศาสนสถานที่ก่อสร้างด้วยศิลาแลงและหินทรายมีปราสาทประธานตั้งอยู่ตรงกลาง บริเวณหน้าปราสาทเป็นลานพลับเพลาซึ่งใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆหันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีบรรณาลัยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน...

Scroll to top