Open post

ประเพณีบุญกระธูป

ชื่อประเพณี บุญกระธูป ที่ตั้ง อำเภอหนองบัวแดง รูปแบบศิลปกรรม ประเพณีท้องถิ่น อายุ ไม่ปรากฏแน่ชัด สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลเบื้องต้น ประเพณีบุญกระธูปเป็นประเพณีที่เกิดจากภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิอย่างแท้จริง โดยเฉพาะในเขตอำเภอหนองบัวแดง ซึ่งมีความเชื่อ ความศรัทธา พิธีกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรมรวมไปถึงการดำเนินชีวิตสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก การแห่กระธูปเป็นคติความเชื่อโดยมองว่าเป็นการสร้างความร่มเย็นอันยิ่งใหญ่ใต้ร่มพระพุทธศาสนา โดยต้นกระธูปเป็นสัญลักษณ์แทนต้นหว้า ต้นไม้ประจำชมพูทวีป อันมีบันทึกไว้ในหนังสือฎีกาพระมาลัยสูตรว่าลักษณะของต้นกระธูปมีความยาวประมาณ ๕๐ โยชน์ มีกิ่งใหญ่ ๔ กิ่ง แผ่ออกไป ๔ ทิศทาง กว้างเป็นมณฑลทั้งได้ ๑๐๐ โยชน์ อันสื่อความหมายถึง พระพุทธศาสนานี้เป็นที่ร่มเย็นแก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย เปรียบเอาต้นกระธูปนี้จุดแล้วย่อมส่งกลิ่นหอมฟุ้งขจรขจายไปยังทิศต่าง ๆ ทำให้เกิดความสุข เป็นคุณค่าทางจิตใจ และเพื่อบูชาองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวาระที่พระองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ภายหลังจากโปรดพุทธมารดา ประเพณีแห่บุญกระธูปก่อเกิดขึ้นเมื่อใดไม่แน่ชัด ตามประวัติพบว่า ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ ชาวบ้าน หมู่บ้านราษฎรดำเนิน ตำบลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ได้ฟื้นฟูการแห่กระธูปถวายวัดในวันออกพรรษา ต่อมาปี พุทธศักราช...

Open post

ประเพณีแห่นาคโหด บทพิสูจน์แรงศรัทธาก่อนเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

ชื่อประเพณี ประเพณีแห่นาคโหด แหล่งศึกษาข้อมูล บ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบศิลปกรรม – อายุ – สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลเบื้องต้น ประเพณีแห่นาคโหด บ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ถูกจัดขั้นในช่วงขึ้น ๑๕ ค่ำเดือนหกถึงแรม ๑๕ ค่ำเดือนหกของทุกปี ลักษณะงานเป็นการจัดงานอุปสมบทหมู่ ซึ่งเป็นเด็กผู้ชายอายุครบ ๒๐ ปีที่ประสงค์บวชทดแทนพระคุณบิดามารดา การจัดงานแห่นาคของที่นี่มีความเชื่อที่ถูกถ่ายทอดกันมานานกว่าร้อยปี ซึ่งเชื่อกันว่า “แห่นาคโหด”  เป็นเสมือนบททดสอบความมุ่งมั่น ตั้งใจและความอดทนของผู้บวชที่มีต่อบิดา มารดา ลำดับพิธีการ เริ่มต้นตั้งแต่ช่วงเช้าจะเป็นการปลงผมนาค ขอขมาบิดามารดาไปจนถึงญาติผู้ใหญ่ ช่วงบ่ายนาคจะเดินทางไปกราบศาลปู่ตา (ศาลประจำหมู่บ้าน) ที่วัด ตาแขก (วัดใน) ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน จากนั้นจะเป็นการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญนาค หลังจากเสร็จพิธีบายศรี จะเป็นการตั้งขบวนวัฒนธรรม โดยจุดตั้งขบวน คือวัดตาแขก แห่รอบหมู่บ้านโนนเสลา – โนนทัน นำนาคขึ้นแห่บนแคร่ ขบวนนาคจะใช้คนหนุ่มที่ยังไม่ได้บวชมาช่วยกันหามแคร่ไม้ไผ่ ซึ่งแคร่จะมีการจัดเตรียมเชือกเพื่อให้นาคยึดจับไว้ไม่ให้ตกได้ง่าย การแห่นาคจะเดินขบวนแห่ไปรอบ ๆ...

Scroll to top