Open post

พระธาตุแก้งกอย

ชื่อแหล่งโบราณคดี พระธาตุแก้งกอย ที่ตั้ง บ้านโนนคูณ ตำบลโนนคูณ อำเภอคอนสาร รูปแบบศิลปกรรม ศิลปะล้านช้าง อายุ พุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลข้างต้น ธาตุแก้งกอย ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุแก้งกอย ตำบลโนนคูณ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เป็นโบราณสถานประเภทธาตุหรือเจดีย์ธาตุบัวเหลี่ยมย่อมุม ๓ ชั้นลดหลั่นกันไป ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะล้านช้าง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ ขนาดสูงประมาณ ๙.๕๐ เมตร กว้าง ๕.๔๐ เมตร ก่อด้วยอิฐสอปูน มีการขุดแต่ง – บูรณะและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์บริเวณธาตุแก้งกอยโดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๙ นครรราชสีมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๕ สามารถวิเคราะห์ รูปแบบทางศิลปะเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนฐาน ประกอบไปด้วยชุดฐานเขียงทรงเตี้ย ๓ ชุด ต่อด้วยท้องไม้ เหนือขึ้นไปเป็นฐานบัวรองรับปากระฆังคั่นด้วยลวดบัวปลายตวัดงอนขึ้น ส่วนองค์ระฆัง เหนือฐานบัวรองรับปากระฆัง จะเป็นลวดบัวรองรับองค์ระฆังเหลี่ยมหรือบัวทรงเหลี่ยม  ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะล้านช้าง...

Open post

ธาตุเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง

ชื่อแหล่งโบราณคดี ธาตุเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ที่ตั้ง หมู่ ๑ วัดเจดีย์ ตำบลคอนสาร อำเภอคอนสาร รูปแบบศิลปกรรม อยุธยาและกรุงรัตนโกสิทร์ตอนต้น อายุ ไม่ปรากฏแน่ชัด สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลพื้นฐาน เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นพร้อมกันกับพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือ หลวงพ่อพระประธาน ศิลปะสมัยสุโขทัยตอนต้นแต่รูปแบบทางศิลปะของเจดีย์ได้รับอิทธิพลทางศิลปะแบบสิบสองปันนา ซึ่งถือเป็นหลักฐานที่ยังไม่มีความ ชัดเจน อย่างไรก็ตามในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ปีพุทธศักราช ๒๓๓๗ สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า – จุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้หลวงวิชิตสงคราม (หมื่นอร่ามกำแหง) ตามด้วยข้าบริวารมาทำสีผึ้ง  ดินประสิว งาช้าง ที่ทุ่งพระแลและบริเวณศาลากลางบ้าน ณ ปัจจุบัน ช่วงเวลาเดียวกับหมื่นอร่ามกำแหงได้ค้นพบวัดร้าง พระพุทธรูปใหญ่ ต้นศรีมหาโพธิ์ และเจดีย์เก่าแก่ จึงได้มีการบูรณะพระพุทธรูปพร้อมกับเจดีย์ ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า รูปแบบศิลปะของเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ปัจจุบันเป็น เจดีย์ที่มีรูปแบบศิลปะแบบกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  เนื่องจากมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับเจดีย์ในบริเวณภาคกลาง ซึ่งมีลักษณะเป็น เจดีย์ทรงเครื่อง การบูรณะเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองสันนิษฐานว่าทางช่างได้มีการรับอิทธิพลการสร้างเจดีย์แบบอยุธยาผนวกกับลักษณะเฉพาะของศิลปะในแบบของกรุงรัตนโกสินทร์มาบูรณะใหม่โดยสามารถ วิเคราะห์ออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่...

Open post

พระแท่นบังลังก์

ชื่องานศิลปกรรม พระแท่นบัลลังก์ ที่ตั้ง หมู่ ๓ ตำบลบ้านแท่น อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบศิลปกรรม พระพุทธรูปศิลปะล้านช้าง อายุ พุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔ สถานะกาารขึ้นทะเบียน – ข้อมูลเบื้องต้น พระแท่นบัลลังก์ เป็นพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย ได้รับอิทธิพลศิลปะแบบล้านช้าง มีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔ ประวัติศาสตร์ที่มาขององค์พระแท่นบัลลังก์นี้ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ปรากฏเพียงคำบอกเล่าที่สืบทอดกันต่อมาแบบมุขปาฐะเท่านั้น ตามประวัติศาสตร์บอกเล่ากล่าวว่า มีการค้นพบพระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัยประดิษฐานไว้ในบริเวณใจกลางป่า ในปัจจุบันพื้นที่ดังกล่าวคือบริเวณลานพระแท่นนั่นเอง โดยพบพระพุทธรูปวางอยู่ใกล้กับฐานรูปเคารพโบราณ ล้อมรอบด้วยใบเสมาหินหรายสีชมพูขนาดเล็ก กลุ่มชาสบ้านที่ไปพบได้นำเอาองค์พระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานไว้บนฐานรูปเคารพ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเป็นแท่นและนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระแท่นบัลลังก์ และบริเวณแห่งนี้ได้ถูกขนานนามว่าเป็น ลานพระแท่นบัลลังก์ จนถึงปัจจุบัน พระแท่นบัลลังก์ได้กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ ชาวบ้านที่ได้รับเมตตาบุญญาอภินิหารในประการต่าง ๆ และชาวบ้านที่ต้องการที่พึ่งพาทางจิตใจ ที่เคารพสักการะและคุมภัยอันตราย อันทำให้เกิดความสงบสุข จึงได้เริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับบริเวณลานพระแท่นบัลลังก์และได้ทำการหักร้างถากถางพง พัฒนาผืนป่ารกจนกลายมาเป็ฯหมู่บ้าน เรียกว่า บ้านแท่น พร้อมกับการสร้างบัลลังก์ขึ้นเพื่อประดิษฐานองค์พระแท่นบัลลังก์ในปี พ.ศ. ๒๔๐๑...

Scroll to top