Open post

พระธาตุแก้งกอย

ชื่อแหล่งโบราณคดี พระธาตุแก้งกอย ที่ตั้ง บ้านโนนคูณ ตำบลโนนคูณ อำเภอคอนสาร รูปแบบศิลปกรรม ศิลปะล้านช้าง อายุ พุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลข้างต้น ธาตุแก้งกอย ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุแก้งกอย ตำบลโนนคูณ อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ เป็นโบราณสถานประเภทธาตุหรือเจดีย์ธาตุบัวเหลี่ยมย่อมุม ๓ ชั้นลดหลั่นกันไป ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะล้านช้าง ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ ขนาดสูงประมาณ ๙.๕๐ เมตร กว้าง ๕.๔๐ เมตร ก่อด้วยอิฐสอปูน มีการขุดแต่ง – บูรณะและปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์บริเวณธาตุแก้งกอยโดยสำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติที่ ๙ นครรราชสีมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๕ สามารถวิเคราะห์ รูปแบบทางศิลปะเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนฐาน ประกอบไปด้วยชุดฐานเขียงทรงเตี้ย ๓ ชุด ต่อด้วยท้องไม้ เหนือขึ้นไปเป็นฐานบัวรองรับปากระฆังคั่นด้วยลวดบัวปลายตวัดงอนขึ้น ส่วนองค์ระฆัง เหนือฐานบัวรองรับปากระฆัง จะเป็นลวดบัวรองรับองค์ระฆังเหลี่ยมหรือบัวทรงเหลี่ยม  ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของศิลปะล้านช้าง...

Open post

ธาตุเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง

ชื่อแหล่งโบราณคดี ธาตุเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ที่ตั้ง หมู่ ๑ วัดเจดีย์ ตำบลคอนสาร อำเภอคอนสาร รูปแบบศิลปกรรม อยุธยาและกรุงรัตนโกสิทร์ตอนต้น อายุ ไม่ปรากฏแน่ชัด สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลพื้นฐาน เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นพร้อมกันกับพระพุทธรูปปางมารวิชัย หรือ หลวงพ่อพระประธาน ศิลปะสมัยสุโขทัยตอนต้นแต่รูปแบบทางศิลปะของเจดีย์ได้รับอิทธิพลทางศิลปะแบบสิบสองปันนา ซึ่งถือเป็นหลักฐานที่ยังไม่มีความ ชัดเจน อย่างไรก็ตามในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ปีพุทธศักราช ๒๓๓๗ สมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า – จุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าให้หลวงวิชิตสงคราม (หมื่นอร่ามกำแหง) ตามด้วยข้าบริวารมาทำสีผึ้ง  ดินประสิว งาช้าง ที่ทุ่งพระแลและบริเวณศาลากลางบ้าน ณ ปัจจุบัน ช่วงเวลาเดียวกับหมื่นอร่ามกำแหงได้ค้นพบวัดร้าง พระพุทธรูปใหญ่ ต้นศรีมหาโพธิ์ และเจดีย์เก่าแก่ จึงได้มีการบูรณะพระพุทธรูปพร้อมกับเจดีย์ ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า รูปแบบศิลปะของเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ปัจจุบันเป็น เจดีย์ที่มีรูปแบบศิลปะแบบกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น  เนื่องจากมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับเจดีย์ในบริเวณภาคกลาง ซึ่งมีลักษณะเป็น เจดีย์ทรงเครื่อง การบูรณะเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองสันนิษฐานว่าทางช่างได้มีการรับอิทธิพลการสร้างเจดีย์แบบอยุธยาผนวกกับลักษณะเฉพาะของศิลปะในแบบของกรุงรัตนโกสินทร์มาบูรณะใหม่โดยสามารถ วิเคราะห์ออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่...

Open post

พระธาตุพีพวย

ชื่อแหล่งโบราณคดี ธาตุพีพวย ที่ตั้ง บ้านโนนทัน หมู่ที่ 11 ตำบลสระโพนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบศิลปกรรม ไท – ลาว อายุ พุทธศตวรรษที่ 24 – ปลายพุทธศตวรรษที่ 25 สถานะการขึ้นทะเบียน ข้อมูลเบื้องต้น ตั้งอยู่ที่บ้านโนนทัน หมู่ 13 ตำบลสระโพนทอง อำเภอเกษตรสมบูรณ์ ก่อสร้างด้วยอิฐ ขนาตใหญ่ มีแผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ส่วนฐานล่างสุดเป็นฐานเขียงรูปสี่เหสี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านมีแนวอิฐก่อเป็นแท่นอยู่กึ่งกลางต้าน ถัดขึ้นไปเป็นชุตฐานเขียง 2 ชั้น ผังรูปสีเทลี่ยมจัตุรัส มีซุ้มพระทางด้าน ทิศเหนือเพียงด้านเดียว ต่อขึ้นไปด้วยฐานบัวลูกแก้วอกไก่ ส่วนองค์ระฆังมีรูปทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้ สิบสอง ส่วนยอดต่อจากองค์ระฆังขึ้นมาเป็นแถวกลีบบัวด้านละสามกลีบ ที่มุมแต่ละมุมมีกลีบบัว แคบ ๆ แทรกอยู่ทั้ง 4 มุม ถัดขึ้นไปทำคล้ายดอกบัวตูมขึ้นไปจนถึงยอดสุดซึ่งแตกหักหายไปแล้ว พื้นที่บริเวณด้านหน้าด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระะธาตุพีพวย ยังพบร่องรอยของอาคารอุโบสถเติมที่ก่อสร้างด้วยอิฐอีก 1 หลัง จากการศึกษาหลักฐานรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม กำหนดอายุอยู่ในสมัยวัฒนธรรมไท –...

Open post

กู่แดง

ชื่อแหล่งโบราณคดี กู่แดง ที่ตั้ง บ้านกุดยาง หมู่ 3ตำบลตลาดแร้ง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบศิลปะกรรม ศิลปขอมโบราณแบบบาปวน อายุ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗ สถานะการขึ้นทะเบียน ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๒๕ ข้อมูลเบื้องต้น กู่แดง หรือ กู่แดงบ้านกุดยาง ตั้งอยู่ที่บ้านกุดยาง หมู่ ๓ ตำบลตลาดแร้ง อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ เป็นโบราณสถานที่สร้างขึ้นตามรูปแบบสถาปัตยกรรมขอมโบราณ ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๖ – ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เป็นรูปแบบศิลปะในสมัยบาปวนต่อเนื่อไปจนถึงรูปแบบศิลปะสมัยนครวัด กู่แดง มีแผนผังเป็นปราสาทหลังเดียว หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาด ๑๓ x ๑๓ เมตร สูงจากพื้นดินประมาณ ๒.๓๐ เมตร ฐานก่อสร้างด้วยศิลาแลงเป็นบันไดทางขึ้น ๓ ด้าน ยกเว้นด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือจากส่วนฐานขึ้นไปยังชั้นเรือนธาตุ โดยฐานส่วนล่างมีการก่อสร้างด้วยหินทรายสีแดง (ชมพู)...

Open post

ภาพเขียนสีถ้ำขาม

ชื่อแหล่งโบราณคดี ภาพเขียนสีถ้ำขาม ที่ตั้ง บ้านวังน้ำอุ่น หมู่ ๙ ตำบลทุ่มนาเลา อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบศิลปกรรม ภาพเขียนสี อายุ ๓,๐๐๐ ปี สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลเบื้องต้น แหล่งโบราณคดีภาพเขียนสีถ้ำขาม พบอยู่บริเวณหุบเขากับถ้ำด้านทิศใต้ของภูผักหนาม ช่วงที่พบภาพเขียนสีเป็นเพิงผา มีพื้นที่ในการเขียนภาพกว้างประมาณ ๒ เมตร ยาว ๔ เมตร สูงจากพิ้นดินตั้งแต่ ๑ – ๓ เมตร ภาพเขียนสีที่พบเขียนด้วยสีแดง ปนน้ำตาลบนพื้นหินสีเทาเข้มถึงสีดำ แสดงภาพเล่าเรื่องที่เกี่ยวกับคนและสัตว์รวมทั้งภาพลักษณ์ต่าง ๆ ภาพเขียนสีที่ปรากฏอยู่นั้น ภาพแรกอยู่ทางด้านซ้ายมือ เป็นภาพมือ แต่เห็นนิ้วเพียง ๔ นิ้ว ภาพถัดมาติดกับเพิงผาริมนอกเป็นภาพหมูป่า ถัดมาด้านขวา เป็นภาพกลุ่มใหญ่มีองค์ประกอบร่วมกันคือ เขียนภาพเป็นเส้นโค้งโดยที่ปลายเส้นโค้งด้านซ้ายมีรูปวงกลม ต่อจากรูปวงกลมเขียนเป็นเส้นริ้ว ๓ เส้น ต่อลงไปเป็นภาพมือเด็กข้างซ้ายและต่ำจากภาพมือลงไปเป็นภาพวงกลมอีก ๓ วง บนเส้นโค้งมีภาพสุนัข ๔ ตัว ยืนหันหน้าไปทางด้านซ้าย...

Open post

ชุมชนโบราณเมืองหามหอก

ชื่อแหล่งโบราณคดี ชุมชนโบราณเมืองหามหอก ที่ตั้ง บ้านไร่หมู่ ๖ ตำบลลุ่มลำชี อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบศิลปกรรม เมืองโบราณ อายุ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๖ สมัยทวารวดี ต่อเนื่องถึงสมัยวัฒนธรรมขอมโบราณ พุทธศตววรษที่ ๑๖ – ๑๘ และสมัยวัฒนธรรมไ ท – ลาว พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๓ สถานะการขึ้นทะเบียน ๒ สิงหาคม ๒๔๗๙ ข้อมูลเบื้องต้น ชุมชนโบราณเมืองหามหอก เป็นเนินดินรูปร่างค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑ กิโลเมตร สูงจากระดับพื้นที่โดยรอบประมาณ ๓ เมตร ด้านนอกของเนินดินมีคูน้ำ – คันดินล้อมรอบหนึ่งชั้น เป็นแนวคูน้ำ – คันดินชั้นใน พื้นที่ถัดออกไปจากคูน้ำ – คันดินชั้นใน เป็นพื้นที่ราบลุ่มสภาพค่อนข้างโล่ง และมีคูน้ำ – คันดินล้อมรอบอีกหนึ่งชั้น...

Open post

ใบเสมาบ้านกุดโง้ง

ชื่อหลักฐานทางศิลปกรรม เสมาหินบ้านกุดโง้ง สถานที่พบ บ้านกุดโง้ง ตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ แหล่งศึกษาข้อมูล อาคารจัดแสดงภายในวัดศรีปทุมคงคาราม รูปแบบศิลปกรรม สมัยทวารวดี อายุ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ – ๑๕ สถานะการขึ้นทะเบียน – ข้อมูลเบื้องต้น ใบเสมาสมัยทวารวดี“ใบเสมา” ความหมายนี้ใช้เรียกแทนแผ่นหิน – แท่งหิน หรือ หลักหิน เป็นศิลปกรรมสมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๖ มักพบตั้งตั้งอยู่ที่เพิงหิน หรือเนินดินโบราณสถานในเขตเมืองโบราณสมัย ทวารวดี มีทั้งการตั้งปักในลักษณะเป็นเอกเทศ หรือล้อมรอบเพื่อแสดงเป็นหลักเขตหรือเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสามารถนำไปเทียบเคียงกับใบเสมาที่ล้อมรอบอุโบสถในสมัยหลังได้ในระดับหนึ่ง รูปลักษณะของใบเสมาสมัยทวารวดีมีหลายรูปแบบ ทั้งแบบแผ่นหินธรรมชาติ แบบสลักแผ่นหินเรียบรูปทรงต่าง ๆ รวมถึงแบบแท่งหินทรงสี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม นอกจากนี้บางแผ่นยังมีการสลักลวดลายมงคลต่าง ๆ เช่นลายกลีบบัว ธรรมจักร สถูปตรงแกนกลางของใบตลอดจนการสลักเป็นภาพเล่าเรื่องชาดกและพุทธประวัติ ในส่วนของกลุ่มใบเสมาบ้านกุดโง้ง ตำบลบุ่งคล้า อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ มีการพบใบเสมาบริเวณเนินดิน ที่ตั้งหมู่บ้านและพื้นที่โดยรอบ มีการพบมากกว่า...

Open post

ปรางค์กู่

ชื่อแหล่งโบราณคดี ปรางค์กู่ ที่ตั้ง บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ รูปแบบศิลปะกรรม ศิลปะขอมแบบบายน อายุ พุทธศตวรรษที่ ๑๘ สถานะการขึ้นทะเบียน ๒ สิงหาคม ๒๔๗๙ ข้อมูลเบื้องต้น ปรางค์กู่ บ้านหนองบัว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เป็นโบราณสถานที่ถูกสร้างขึ้นตามรูปแบบสถาปัตยกรรมขอมโบราณ แบบบายนในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ตรงกับกษัตริย์ขอมคือพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ แห่งอาณาจักรขอม (พ.ศ. ๑๗๒๔ – ๑๗๖๑) ซึ่งมีพระราชดำริในการสร้างอโรคยศาลหรือศาสนสถานประจำสถานพยาบาลอีกแหล่งหนึ่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กับปรางค์กู่บริเวณอื่นอีกจำนวน ๑๐๒ แห่ง ทั่วราชอาณาจักร โดยสร้างขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชน ปรางค์กู่ ถูกสร้างขึ้นภายใต้คติความเชื่อของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน คือ พระโพธิสัตว์ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา พระพุทธเจ้าแห่งการแพทย์ นอกจากนี้ยังมีการค้นพบศิลาจารึกประจำอโรคยศาล จารึกข้อความทั้ง ๔ ด้าน โดยมีการจารึกด้วยอักษรขอม เป็นภาษาสันสกฤต รายละเอียดเป็นการกล่าวถึงการแสดงความนอบน้อมแก่พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ไภษัชยคุรุไวฑูรประภา รวมทั้งกล่าวถึงเจ้าหน้าที่ประจำสถานพยาบาลในแผนกต่าง ๆ จากการสำรวจพังพบว่าปรางค์กู่ศาสนสถานที่ก่อสร้างด้วยศิลาแลงและหินทรายมีปราสาทประธานตั้งอยู่ตรงกลาง บริเวณหน้าปราสาทเป็นลานพลับเพลาซึ่งใช้สำหรับการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆหันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีบรรณาลัยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของปราสาทประธาน...

Scroll to top